วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สายใยแก้วนำแสง




สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) คือ สายนำสัญญาณข้อมูลที่ใช้หลักการทางแสง กล่าวคือ ใช้กับสัญญาณข้อมูลที่อยู่ในรูปของคลื่นแสงเท่านั้นตัวแก้วนำแสงอาจทำจากแก้วหรือพลาสติก โดยสัญญาณข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่นแสงแล้วจึงส่งให้เดินทางสะท้อนภายในสายใยแก้วเรื่อยไปจนถึงผู้รับที่ปลายทาง การเดินทางของแสงดังกล่าวเป็นแบบการสะท้อนกลับหมดของแสง กล่าวคือ แสงตกกระทบภายในใยแก้วด้วยมุมตกกระทบที่มีค่ามากกว่ามุมวิกฤต คลื่นแสงจึงไม่หักเหออกไปภายนอก สายใยแก้ว มีคุณสมบัติที่ดีกว่าสายทั่วไปหลายประการ เช่น มีขนาดเล็ก ส่งผ่านข้อมูลได้ครั้งละมากๆ สัญญาณข้อมูลมีโอกาสถูกลดทอนน้อยมาก ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยข้อจำกัด คือ เมื่อสายใยแก้วขาด หักงอหรือแตกหัก จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษในการซ่อมแซม ซึ่งยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบอื่น

ดาวเทียม




ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที มันจุส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดินสถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "Transponder" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก ดาวเทียมสื่อสารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่ง
วิธีการทำงาน เนื่องจากดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการหยุด ดาวเทียมสื่อสารจึงถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี ให้สามารถใช้งานในอวกาศได้ประมาณ 10 - 15 ปี โดยที่ดาวเทียมต้องสามารถโคจร และรักษาตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ตลอดเวลา ดาวเทียมสื่อสารทำงานโดยอาศัยหลักการส่งผ่านสัญญาณถึงกันระหว่างสถานีภาคพื้นดินและ ดาวเทียม

โทรศัพท์



การทำงานของโทรศัพท์มือถือก็มีหลักการเหมือนกันกับโทรศัพท์บ้านแต่จะแตกต่างกันตรงที่ โทรศัพท์บ้านจะใช้สายโทรศัพท์ซึ่งเป็นสายทองแดง แต่ในระบบของโทรศัพท์มือถือ จะใช้คลื่นวิทยุแทน
โทรศัพท์มือถือ คลื่นเสียงจะเปลี่ยนเป็นคลื่นวิทยุ radio waves ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง( electromagnetic radiation) คลื่นนี้จะกระจายไปในอากาศและไปสู่สถานีของวิทยุมือถือ เมื่อมีคนโทร ติดต่อมาคลื่นเสียงจะแปลงเป็นคลื่นวิทยุ ส่งไปตามสถานีและส่งมายังผู้รับ
ความแรงของคลื่นส่วนใหญ่ประมาณ 0.75ถึง 1 watt ในขณะที่เราพูดสมองของเราจะอยู่ใกล้เสาอากาศของโทรศัพท์มือถือมากที่สุด พลังงานจากคลื่นวิทยุจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ


เครื่องบิน



               แรงที่กระทำต่อเครื่องบินมี 4 แรง ได้แก่
1 Thrust หรือแรงขับ แรงฉุดมีทิศไปด้านหน้า
2 Drag หรือแรงต้าน แรงกระทำตรงข้ามกับ Thrust เช่นแรงเสียดทาน แรงต้านอากาศ
3 Lift หรือแรงยก แรงทิศทางขึ้นบน
4 Weight หรือน้ำหนักตัว แรงทิศทางลงล่าง ตรงข้ามกับ Lift
เครื่องบินจะบิน ลอยอยู่ในอากาศได้ จะต้องมีแรงยกเอาชนะน้ำหนัก และจะไปข้างหน้าได้ ก็ต้องมีแรงขับ เอาชนะแรงต้าน หรือการเสียดทานของอากาศ
โดยทั่ว ๆ ไป 4 แรงนี้จะเกิดเสมอเมื่อมีการบิน เมื่อเครื่องบินมีความเร็ว ก็อาศัยผิวปีกสร้างแรงยกขึ้นมา เนื่องจากผิวของปีกเครื่องบินมีความโค้ง โดยกระแสอากาศที่ไหลผ่านปีกด้านบนมีความเร็วมากกว่าด้านล่าง (เพราะระยะทางด้านบนยาวกว่าด้านล่าง แต่ใช้เวลาจากจุดชายหน้าปีกถึงชายหลังปีกเท่ากัน) ทำให้ความดันใต้ผิวปีกมีมากกว่าด้านบน เครื่องบินจึงมีแรงยกเกิดขึ้นเอาชนะน้ำหนักตัว ทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้ เรียกว่า หลักการของแบร์นูลลี่


เครื่องเตือนไฟไหม้



            ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System Component) ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม มี 4 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งทำงานเชื่อมโยงกัน
1.ชุดจ่ายไฟ (Power Supply) ชุดจ่ายไฟ เป็นอุปกรณ์แปลงกำ ลังไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟมาเป็นกำ ลังไฟฟ้ากระแสตรง ที่ใช้ปฏิบัติงาน ของระบบและจะต้องมีระบบไฟฟ้าสำ รอง เพื่อให้ระบบทำ งานได้ในขณะที่ไฟปกติดับ
2. แผงควบคุม (Fire Alarm Control Panel) เป็นส่วนควบคุมและตรวจสอบการทำ งานของอุปกรณ์และส่วนต่างๆในระบบทั้งหมก
3. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices) เป็นอุปกรณ์ต้นกำเนิดของสัญญาณเตือนอัคคีภัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 3.1 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณจากบุคคล (Manual Station) ได้แก่ สถานีแจ้งสัญญาณเตือนอัคคีภัยแบบใช้มือกด (Manual Push Station) 3.2 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณโดยอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติที่มีปฏิกิริยาไวต่อสภาวะ ตามระยะต่างๆ ของการเกิดเพลิงไหม้ ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับควัน(Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน(Heat Detector) อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ(Flame Detector) อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (Gas Detector)
4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยเสียงและแสง (Audible & Visual Signalling Alarm Devices)
หลังจากอุปกรณ์เริ่มสัญญาณทำ งานโดยส่งสัญญาณมายังตู้ควบคุม(FCP) แล้ว FCPจึงส่งสัญญาณ
ออกมาโดยผ่านอุปกรณ์ ได้แก่ กระดิ่ง, ไซเรน, ไฟสัญญาณ เป็นต้น


กระทะ




                    กระทะ  ตัวจานของกระทะจะทำด้วยวัสดุที่นำความร้อนได้สูง เช่น อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กหล่อ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนำ อลูมิเนียม มาทำเป็นตัวจานของกระทะเพราะมีการนำความร้อนได้ดี และ ทนทานต่อการกัดกร่อน ตัวด้ามจับจะทำด้วยวัสดุที่ไม่นำความร้อน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติก ซึ่งพบได้ทั่วไป

กระจกทันตแพทย์




           กระจกทันตแพทย์เป็นกระจกเว้าคือ เมื่อนำมาส่องดูวัตถุใกล้ๆโดยให้ระยะวัตถุน้อยกว่าระยะโฟกัสแล้ว จะได้ภาพเสมือน หัวตั้ง ขนาดใหญ่กว่าวัตถุ อยู่ข้างหลังกระจก จึงได้นำสมบัติข้อนี้ของกระจกเว้ามาใช้ทำสำหรับทันตแพทย์ใช้ตรวจฟันคนไข้ เพื่อให้มองเห็นภาพของฟันในกระจกมีขนาดใหญ่กว่าฟันจริง